เรื่องที่๙ ขอโทษ

 

เพื่่อนคนญี่ปุ่นส่วนมากบอกว่า คนไทยส่วนมากไม่กล่าวคําขอโทษ เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าคงจะต้องลบคําศัพท์คําว่า g ขอโทษ h ออกจากพจนานุกรมแล้วมั้งช่วงนี้ผมมีความรู้สึกอยู่สองอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างแรกก็คือ ถึงแม้ว่าคนไทยบางคนส่วนมากมักจะไม่กล่าวขอโทษ แต่กลับพูดว่า  g SORRY  hทั้ง ๆ ที่คําว่า gSORRYh นั้นเป็นภาษาอังกฤษ มีความหมายเหมือนกันกับคําว่า ขอโทษ แต่ผมมีความคิดว่าคนไทยมักจะใช้คําว่า SORRY มากกว่าคําว่า ขอโทษ ผมคิดว่า กับขอโทษไม่เหมือนกันอย่างไงนั้นผมคิดว่า ใช้ได้ SORRY กับการขอโทษได้ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องที่ไม่ค่อยมีความสําคัญ  ส่วนคําว่า ขอโทษมักจะใช้กับเรื่องที่ใหญ่ ๆ หรือผิดจริง ๆ เท่านั้น

อย่างที่สอง ก็คือ คนไทยมักจะพูดคําว่า gขอโทษh กับบุุคคลที่เขารู้จักเท่านั้น  ผมได้ยินว่า สมัยโบราณ เมืองไทยมีระบบทาส ถ้าคนใดคนหนึ่งยอมรับโทษ และพูดคําว่าขอโทษ เขาก็จะถูกส่งตัวไปเป็นทาส ซึ่งถ้ารู้ประวัติศาสตร์ เหล่านี้แล้ว  พวกเราคนญี่ปุ่นคงจะเข้าใจ ในเรื่องที่คนไทยมักไม่พูดขอโทษ กันมากขึ้น  ส่วนคนญี่ปุ่นเวลาจะขอโทษก็จะพูดว่า g  sumimasen  h คนไทยบางคนบอกว่า คนญี่ปุ่นมีการพูดขอโทษเก่งมาก คําศัพท์ sumimasen  มีความหมายว่า ขอโทษครับ คนญี่ปุ่นใชคําว่าขอโทษมากเกินไปจึงทําให้คําว่าขอโทษมีความหมายมากขึ้น เช่น  เวลาเรียกคนอื่นที่ไม่รู้จักกันก็จะพูด sumimasen  หรือใช้ในเวลาขอบคุณในเรื่อง ๆ เล็ก ๆ ก็จะพูดว่า sumimasen  ด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่า sumimasen  นั้นมีความหมาย ๒ อย่างคือ ขอโทษครับ กับ ขอบคุณครับ

คําว่า sumimasen  อาจจะเป็นคําติดปากคนญี่ปุ่นไปเลยก็ได้  แต่คนญี่ปุ่นมีความชินกับคําศัพท์ sumimasen  ในความหมายของการขอโทษมากกว่า  ในความคิดคนญี่ปุ่นถ้ามีปัญหาก็จะขอโทษไว้ก่อนเป็นอันดับแรกดีกว่า โดยเฉพาะลูกค้่า หรือคนที่ไม่รู้จักกัน ซึ่งเมื่อพูด sumimasen  ก็จะทําให้ลูกค้าอารมณ์ดีขึ้น คนญี่ปุ่นถือว่ายิ่งแก้ตัวเท่าไรก็ยิ่งโมโหมากขึ้น โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยในระยะแรกๆแต่ผมอยู่เมืองไทยเกือบจะ๒ปีแล้วจึงสามารถรู้ความคิดและเข้าใจในความรู้สึกและความคิดของคนไทยมากขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าคนไทยไม่บอกขอโทษกับผม  ผมก็ไม่ค่อยโมโหเท่าไรหรอกครับ

 

 

                                                                                                                                                                        เทซุ

                                                                                                                                                             ๒๑สิงหาคม ๒๕๔๖