เรื่องที่ ๑๐  ภาษาไทย

 

ผมมาอยู่เมืองไทยเกือบ๒ปีแล้ว

ตอนที่ผมเพิ่งมาเมืองไทยผมไปเรียนภาษาไทยที่โรงเรียนทุกวัน

ผมหวังว่าอยากจะเรียนภาษาไทยจนกว่าจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์หรือเข้าใจข่าวที่นักข่าวพูดได้ด้วย

ผมคิดว่าถ้าอยู่เมืองไทยนานๆ ผมคงจะสามารถพูดภาษาไทยเก่งขึ้นได้แน่นอน

แต่ผมคิดผิดแล้ว ถ้าอยากพูดภาษาไทยเก่งขึ้นผมก็ต้องพยายามเรีอนภาษาไทย ต้องใช้เวลาในการเรียนด้วย

บางคนบอกว่าภาษาไทยไม่ค่อยยาก แต่สําหรับผมภาษาไทยยากมาก เพราะว่าภาษาไทยไม่ใข่ภาษาแม่ของผม

ดังนั้นผมรู้สึกว่ายากจริงๆ แต่การออกเสียงจนถึงไวยากรณ์ของภาษาไทย

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่บอกว่าการออกเสียงภาษาไทยยากสํมหรับชาวญี่ปุ่น

ภาษาญี่ปุ่นมีสระ๕ตัวเท้านั้น ส่วนภาษาไทยมีสระ๒๘ตัว

มีพยัญชนะ ๔๔ ตัว เลิกใช้ไปแล้ว ๒ ตัว เหลือ ๔๒ ตัว วรรนยุกต์ ๔ รูป ๕ เสียง

สําหรับคนญี่ปุ่น สระ gเ hกับ สระ gแ h ฟังยาก  สระ gโ hกับ สระ g อ h  หรือ สระgูอูhกับ สระ gอือ hก็ ฟังยากเหมือนกัน

นอกจากการออกเสียงแล้วยังมีสิ่งที่ยากอีกด้วย เช่น คําศัพที่มีความหมายเหมือนกันแต่วิธีใช้ต่างกันก็มีเยอะด้วย

เช่น กิน ทาน รับประทาน ฉัน

ผมถามเพื่อนคนไทยเกี่ยวกับภาษาไทยบ่อย ๆ เช่น ทําให้  เลย เพราะฉะนั้น  ดังนั้น  ก็เลย  วิธีใช้ต่างกันอย่างไง

เพื่อนคนไทยตอบว่า แล้วแต่ประโยค  การตอบนี้ไม่ผิดจริง ๆ แต่ผมไม่เข้าใจเลย

ยิ่งถามก็ยิ่งสับสนมากขึ้น

เมื่อเริ่มทํางานในเมืองไทย ผมไม่ค่อยมีเวลาเรียนภาษาไทย  ทําให้ช่วงนี้เวลาผมพูดภาษาไทย คนไทยบอกบ่อย ๆว่า gไม่รู้เรื่องh

แล้วก็เวลาเขียนภาษาไทยตัวอักษรผิดบ่อย ๆ ตอนนี้ผมเขียนบทความ gมุมมองของเทซึ h ในเวบไซต์ของผมด้วย

หลังจากผมเขียนบทความด้วยตัวเองเสร็จแล้ว เพื่อนคนไทยช่วยแก้ไขบางประโยคให้ถูกต้อง

ถ้าไม่ได้ตรวจหรือแก้ไขก่อน ผู้อ่อนคงจะไม่รู้เรื่องแน่ ๆ

ผมคิดว่าเวลาเขียน g มุมมองของเทซึ h ผมได้มีโอกาสเรียนภาษาไทยไปในตัวด้วย

ความจริงผมอยากอยู่เมืองไทยนาน ๆ

ดังนั้นผมต้องการมีความรู้ภาษาไทยอย่างลึกมากกว่านี้

ถ้าเขียนบทความg มุมมองของเทซึ h ต่อ ผมก็เชื่อว่าภาษาไทยของผมคงจะเก่งขึ้น และจะทําให้ชีวิตในเมืองไทยสบายขึ้นด้วย

 

                                                     ๖ กันยายน ๒๕๔๖

                                                        เทซึ